เมนู

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่แสงสว่างไปในหมื่นจักรวาล
ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ทรงออกจากฌานนั้นแล้วทรงเหาะ
ขึ้นสู่อากาศ ด้วยอธิษฐานจิต ทรงแสดง

ยมกปาฏิหาริย์

ท่ามกลางเทว-
บริษัทและมนุษยบริษัทอันใหญ่ เหมือนทรงโปรยธุลีพระบาทลงเหนือเศียร
ของพระประยูรญาติเหล่านั้น. ก็ยมกปาฏิหาริย์นั้น พึงทราบจากบาลีอย่างนี้
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นอย่าง-
ไร. พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในโลกนี้ ไม่ทั่ว
ไปแก่พระสาวกทั้งหลาย คือลำไฟแลบออกจากพระกาย
เบื้องบน ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องล่าง, ลำไฟ
แลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อน้ำไหลออกจาก
พระกายเบื้องบน.
ลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องหน้า ท่อน้ำไหล
ออกจากพระกายเบื้องหลัง, ลำไฟแลบออกจากพระ-
กายเบื้องหลัง ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องหน้า.
ลำไฟแลบออกจากพระเนตรเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระเนตรเบื้องซ้าย ท่อนำไหลออกจากพระเนตร
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออกจาก
ช่องพระกรรณเบื้องขวา.

ลำไฟแลบออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออก
จากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ลำไฟแลบออกจากช่อง
พระนาสิกเบื้องซ้าย.
ลำไฟแลบออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจาก
จะงอยพระอังสาเบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา ท่อน้ำไหล
ออกจากพระหัตเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจากพระ-
หัตถ์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระปรัศว์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระปรัศว์
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระบาทเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระบาทเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระบาทเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระบาทเบื้อง
ขวา.
ลำไฟแลบออกจากทุกพระองคุลี ท่อน้ำไหลออก
จากระหว่างพระองคุลี, ลำไฟแลบออกจากระหว่าง
พระองคุลี ท่อน้ำไหลออกจากทุกพระองคุลี.

ลำไฟแลบออกจากพระโลมาแต่ละเส้น ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระโลมาแต่ละเส้น, ลำไฟแลบออกจาก
ขุมพระโลมาแต่ละขุม ท่อน้ำก็ไหลออกจากขุมพระ
โลมาแต่ละขุม มีวรรณะ 6 คือ เขียว เหลือง แดง
ขาว แดงเข้ม เลื่อมพราย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนิน พระพุทธเนรมิต
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธเนรมิต
ทรงดำเนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง,
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธเนรมิต ทรง
ดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง บรรทมบ้าง. พระผู้มี
พระภาคเจ้าบรรทม พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนินบ้าง
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง.
พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนิน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง. พระ-
พุทธเนรมิตประทับยืน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำ-
เนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิต
ประทับนั่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินบ้างประทับ
ยืนบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิตบรรทม พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง ประทับ
นั่งบ้าง. นี้พึงทราบว่าญาณในยมกปาฏิหาริย์ของ
พระตถาคต.

แต่พึงทราบว่า ที่ท่านกล่าวว่าลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อ
น้ำไหลออกจากพระกายเบื้องบน ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า ลำไฟแลบออกจากพระ
กายเบื้องบน ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็โดยเตโชกสิณสมาบัติ ท่อน้ำไหล
ออกจากพระกายเบื้องล่าง ก็โดยอาโปกสิณสมาบัติ เพื่อแสดงอีกว่า ลำไฟ
ย่อมแลบออกไปจากที่ ๆ ท่อน้ำไหลออกไป ท่อน้ำก็ไหลออกไปจากที่ ๆ ลำไฟ
แลบออกไป. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนี้ลำไฟก็ไม่ปนกับท่อ
น้ำ ท่อน้ำก็ไม่ปนกับลำไฟเหมือนกัน. ส่วนบรรดารัศมีทั้งหลาย รัศมีที่สอง ๆ
ย่อมแล่นไปในขณะเดียวกัน เหมือนเป็นคู่กับรัศมีต้น ๆ. ก็ธรรมดาว่าจิตสอง
ดวงจะเป็นไปในขณะเดียวกันย่อมไม่มี. แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รัศมี
เหล่านี้ ย่อมแลบออกไปเหมือนในขณะเดียวกัน เพราะทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ
โดยอาการ 5 เหตุการพักแห่งภวังคจิตเป็นไปรวดเร็ว. แต่การนึกการบริกรรม
และการอธิษฐานรัศมีนั้น เป็นคนละส่วนกันทีเดียว. จริงอยู่ เมื่อต้องการรัศมี
เขียว พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเข้านีลกสิณสมาบัติ. เมื่อต้องการรัศมีสีเหลือง
เป็นต้น ก็ย่อมทรงเข้าปีตกสิณสมาบัติเป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์อยู่อย่างนี้ ก็ได้เป็น
เหมือนกาลที่เทวดาในหมื่นจักรวาล แม้ทั้งสิ้น ทำการประดับองค์ฉะนั้น.
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระศาสดา ผู้สูงสุดในสัตว์ ผู้ยอดเยี่ยม ผู้เป็น
นายกพิเศษ ได้เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
เป็นผู้มีอานุภาพ มีลักษณะบุญนับร้อย ก็ทรงแสดง
ปาฏิหาริย์มหัศจรรย์.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตุตฺตโม ได้แก่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ
เพราะเป็นผู้สูงสุด ล้ำเลิศ ประเสริฐสุด ในสัตว์ทั้งหมด ด้วยพระคุณทั้งหลาย
มีศีลเป็นต้นของพระองค์ หรือว่าเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสัตตุตตมะ
ความจริง คำว่า สัตตะ เป็นชื่อของญาณ. ชื่อว่า สัตตุตตมะ เพราะทรง
เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุด ด้วยพระญาณ [สัตตะ] กล่าวคือทศพลญาณและ
จตุเวสารัชชญาณ อันเป็นอสาธารณญาณนั้น. หรือทรงเป็นสัตว์สูงสุด โดย
ทรงทำยิ่งยวดด้วยพระญาณที่ทรงมีอยู่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ. ถ้าเป็นดั่งนั้น ก็ควร
กล่าวโดยปาฐะลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้นว่า อุตฺตมสตฺโต แต่ความต่างอันนี้
ไม่พึงเห็น โดยบาลีเป็นอันมากไม่นิยมเหมือนศัพท์ว่า นรุตตมะ
ปุริสุตตมะ และ นรวระ เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง ญาณ [สัตตะ]
อันสูงสุด มีแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นชื่อว่า สัตตุตตมะ มีญาณอันสูงสุด.
แม้ในที่นี้ ก็ลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้น โดยปาฐะลงวิเสสนะไว้ข้าง
ต้นว่า อุตฺตมสตฺโต เหมือนในคำนี้ว่า จิตฺตคู ปทฺธคู เหตุนั้น
ศัพท์นี้จึงไม่มีโทษ. หรือพึงเห็นโดยวิเสสนะทั้งสองศัพท์ เหมือนปาฐะมีว่า
อาหิตคฺคิ เป็นต้น. บทว่า วินายโก ได้เเก่ชื่อว่า วินายกะ เพราะทรง
แนะนำ ทรงฝึกสัตว์ทั้งหลายด้วยอุบายเครื่องแนะนำเป็นอันมาก. บทว่า สตฺถา
ได้แก่ ชื่อว่าศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนสัตว์ทั้งหลายตามความเหมาะสม ด้วย
ประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้า. บทว่า อหู แปลว่า ได้เป็นแล้ว.
บทว่า เทวมนุสฺสปูชิโต ความว่า ชื่อว่า เทพ เพราะระเริงเล่นด้วย
กามคุณ 5 อันเป็นทิพย์. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะใจสูง. เทวดาด้วย มนุษย์
ด้วย ชื่อว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ชื่อว่า
เทวมนุสสปูชิตะ อันเทวดาและมนุษย์บูชาด้วยการบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น

และการบูชาด้วยปัจจัย [ 4 ] อธิบายว่า ยำเกรงแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร
ท่านจึงถือเอาแต่เทวดาและมนุษย์เท่านั้นเล่า สัตว์ทั้งหลายที่เป็นสัตว์เดียรัจฉาน
เช่นช้างชื่ออารวาฬะ กาฬาปลาละ ธนปาละ ปาลิเลยยกะ เป็นต้นก็มี ที่เป็น
วินิปาติกะเช่นยักษ์ชื่อสาตาคิระ อาฬวกะ เหมวตะ สูจิโลมะ ขรโลมะเป็นต้น
ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น มิใช่หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นก็จริงดอก แต่
คำนี้พึงเห็นว่า ท่านกล่าวโดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ และโดยกำหนดเฉพาะ
ภัพพบุคคล. บทว่า มหานุภาโว ได้แก่ ผู้ประกอบแล้วด้วยพระพุทธานุภาพ
ยิ่งใหญ่. บทว่า สตปุญฺญลกฺขโณ ความว่า สัตว์ทั้งหมดในอนันตจักรวาล
พึงทำบุญกรรมอย่างหนึ่งๆ ตั้งร้อยครั้ง พระโพธิสัตว์ลำพังพระองค์เอง ก็ทำ
กรรมที่ชนทั้งหลายมีประมาณเท่านั้นทำแล้วเป็นร้อยเท่าจึงบังเกิด เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า สตปุญฺญลกฺขโณ ผู้มีลักษณะบุญนับร้อย. แต่อาจารย์บาง
พวกกล่าวว่า ทรงมีลักษณะอย่างหนึ่งๆ ที่บังเกิดเพราะบุญกรรมเป็นร้อยๆ
คำนั้นท่านคัดค้านไว้ในอรรถกถาว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งก็พึงเป็น
พระพุทธเจ้าได้น่ะสิ. บทว่า ทสฺเสสิ ความว่า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ทำ
ความประหลาดใจยิ่ง แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.
ครั้งนั้น พระศาสดาครั้นทรงทำปาฏิหาริย์ในอากาศแล้ว ทรงตรวจดู
อาจาระทางจิตของมหาชน มีพระพุทธประสงค์จะทรงจงกรมพลาง ตรัส
ธรรมกถาพลาง ที่เกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น จึงทรงเนรมิต รัตนจง-
กรมที่สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด กว้างเท่าหมื่นจักรวาลในอากาศ ด้วยเหตุนั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระศาสดาพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ สูงสุดใน
นรชน ผู้นำโลก อันเทวดาผู้ประเสริฐทูลอ้อนวอนแล้ว
ทรงพิจารณาถึงประโยชน์แล้ว ในครั้งนั้น จึงทรงเนร-
มิตที่จงกรม อันสร้างด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ พระศาสดาพระองค์นั้น. บทว่า
ยาจิโต ความว่า ถูกทูลอ้อนวอนขอให้ทรงแสดงธรรมในสัปดาห์ที่แปด เป็น
ครั้งแรกทีเดียว. บทว่า เทววเรน ได้แก่ อันท้าวสหัมบดีพรหม. ในคำว่า
จกฺขุมา นี้. ชื่อว่าเป็นผู้มีพระจักษุ เพราะทรงเห็น อธิบายว่า ทรงเห็น
แจ่มแจ้งซึ่งที่เรียบและไม่เรียบ.
ก็จักษุนั้นมี 2 อย่างคือ ญาณจักษุและมังสจักษุ. บรรดาจักษุทั้งสอง
นั้น ญาณจักษุมี 5 อย่างคือ พุทธจักษุ ธันมจักษุ สมันตจักษุ ทิพพจักษุ
ปัญญาจักษุ.
บรรดาจักษุทั้ง 5 นั้น ญาณที่หยั่งรู้อาสยะและอนุสยะ และญาณที่
หยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ ซึ่งมาในบาลีว่า ทรงตรวจดูโลกด้วย
พระพุทธจักษุ ชื่อว่า พุทธจักษุ.
มรรค 3 ผล 3 เบื้องต่ำ ที่มาในบาลีว่า ธรรมจักษุที่ปราศจากกิเลส
ดุจธุลี ปราศจากมลทินเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า ธัมมจักษุ. พระสัพพัญญุตญาณที่มา
ในบาลีว่า ข้าแต่พระผู้มีปัญญาดี ผู้มีจักษุโดยรอบ โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทที่
สำเร็จด้วยธรรม ก็อุปมาฉันนั้นเถิด ชื่อว่า สมันตจักษุ.
ญาณที่ประกอบพร้อมด้วยอภิญญาจิตที่เกิดขึ้น ด้วยการเจริญอาโลก-
กสิณสมาบัติ ที่มาในบาลีว่า ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทิพพจักษุ.
ญาณที่มาแล้วว่า ปัญญาจักษุ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้นที่มาในบาลีนี้ว่า จักษุ
เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ปัญญาจักษุ.

มังสจักษุเป็นที่อาศัยของประสาท ที่มาในบาลีนี้ว่าอาศัยจักษุและรูปดังนี้
ชื่อว่า มังสจักษุ. ก็มังสจักษุนั้นมี 2 คือ สสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ. บรรดา
จักษุทั้ง 2 นั้น ชิ้นเนื้อนี้ใด อันชั้นตาทั้งหลายล้อมไว้ในเบ้าตา ในชิ้น
เนื้อใด มีส่วนประกอบ 13 ส่วนโดยสังเขป คือ ธาตุ 4 สี กลิ่น รส โอชะ
สัมภวะ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาท แต่โดยพิศดาร มีส่วน
ประกอบ คือ สมุฏฐาน 4 ที่ชื่อว่า สัมภวะ สมุฏฐาน 36 และกัมมสมุฏ-
ฐาน 4 คือ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาทอันนี้ ชื่อว่า สสัมภาร-
จักษุ.
จักษุใดตั้งอยู่ในวงกลม ' เห็น ' [เล็นซ์] ซึ่งถูกวงกลมคำอันจำกัดด้วย
วงกลมขาวล้อมไว้ เป็นเพียงประสาทสามารถเห็นรูปได้ จักษุนี้ ชื่อว่าปสาท-
จักษุ.
ก็จักษุเหล่านั้นทั้งหมด มีอย่างเดียว โดยความไม่เที่ยง โดยมีปัจจัย
ปรุงแต่ง. มี 2 อย่าง โดยเป็นไปกับอาสวะ และไม่เป็นไปกับอาสวะ, โดย
โลกิยะและโลกุตระ. จักษุมี 3 อย่าง โดย ภูมิ โดย อุปาทินนติกะ, มี 4
อย่างโดย เอกันตารมณ์ ปริตตารมณ์ อัปปมาณารมณ์และอนิยตารมณ์. มี
5 อย่าง คือ รูปารมณ์ นิพพานารมณ์ อรุปารมณ์ สัพพารมณ์และอนารัมม-
ณารมณ์. มี 6 อย่าง ด้วยอำนาจพุทธจักษุเป็นต้น จักษุดังกล่าวมาเหล่านี้ มีอยู่
แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงเรียก
ว่า จักขุมา ผู้มีพระจักษุ.
บทว่า อตฺถํ สเมกฺขิตฺวา ความว่า ทรงเนรมิตที่จงกรม อธิบายว่า
ทรงพิจารณาใคร่ครวญถึงประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อัน
เป็นนิมิตแห่งการทรงแสดงธรรม. บทว่า มาปยิ แปลว่า ทรงเนรมิต. บทว่า
โลกนายโก ได้แก่ ทรงชื่อว่าผู้นำโลก เพราะทรงแนะนำสัตว์โลกมุ่งหน้าตรง

ต่อสวรรค์และนิพพาน. บทว่า สุนิฏฺฐิตํ แปลว่า สำเร็จด้วยดี อธิบายว่าจบ
สิ้นแล้ว. บทว่า สพฺพรตนนิมฺมิตํ ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะ 10 อย่าง. บัดนี้
เพื่อแสดงความถึงพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ 3 อย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก ทรงเชี่ยวชาญใน
ปาฏิหาริย์ 3 คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อัน
สร้างสรรด้วยรัตนะทั้งหมด สำเร็จลงด้วยดี.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธึ ได้แก่ การแสดงฤทธิ์ ชื่อว่า
อิทธิปาฏิหารย์, อิทธิปาฏิหาริย์นั้น มาโดยนัยเป็นต้นว่า แม้คนเดียว
ก็เป็นมากคนบ้าง แม้มากคน ก็เป็นคนเดียวได้บ้าง. บทว่า อาเทสนา
ได้แก่ การรู้อาจาระทางจิตของผู้อื่นแล้วกล่าว ชื่อว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์.
อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ก็คือการแสดงธรรมเป็นประจำของพระสาวกทั้งหลาย
และของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า อนุสาสนี ก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์
อธิบายว่า โอวาทอันเกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น ๆ. ปาฏิหาริย์ 3 เหล่า
นี้ มีดังกล่าวมาฉะนี้. บรรดาปาฏิหาริย์ 3 เหล่านั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วย
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระโมคคัลลานะ. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระธรรมเสนาบดี [สารีบุตร].
ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นการแสดงธรรมเป็นประจำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า ติปาฏิหีเร ความว่า ในปาฏิหาริย์ 3 เหล่านั้น. คำว่า ภควา นี้

เป็นชื่อของท่านผู้ควรคารวะอย่างหนัก ผู้สูงสุดในสัตว์ ประเสริฐด้วยพระคุณ
สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
ภควาติ วจนํ เสฏฺฐํ ภควาติ วจนมุตฺตมํ
คุรคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด ท่านผู้ควรแก่คารวะอย่างหนักพระองค์นั้น
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา.

บทว่า วสี ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ 3 อย่างนี้.
อธิบายว่า ความชำนาญที่สั่งสมไว้. วสี 5 คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี
อธิษฐานวสี วุฏฐานวสี และปัจจเวกขณวสี ชื่อว่า วสี.
บรรดาวสีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึกถึงฌานใด ๆ ตามความ
ปรารถนา ตามเวลาปรารถนา เท่าที่ปรารถนา ความเนิ่นช้าในการนึกไม่มีเลย
เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถนึกได้เร็ว จึงชื่อว่า อาวัชชนวสี. ทรงเข้าฌาน
ใด ๆ ตามความปรารถนา ฯลฯ ก็เหมือนกัน ความเนิ่นช้าในการเข้าฌานไม่มี
เลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถเข้าฌานได้เร็ว จึงชื่อว่า สมาปัชชนวสี.
ความที่ทรงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ชื่อว่า อธิษฐานวสี. ความที่ทรงสามารถ
ออกจากฌานได้เร็วก็เหมือนกัน ชื่อว่า วุฏฐานวสี. ส่วนปัจจเวกขณวสี ย่อม
เป็นปัจเจกขณชวนะจิตทั้งนั้น ปัจจเวกขณชวนะจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน
ลำดับต่อจากอาวัชชนจิตนั่นแล เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอาวัชชวสีเท่านั้น
ความที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในวสี 5 เหล่านี้ ย่อมชื่อว่าทรงเป็นผู้ชำนาญ ด้วย
ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ 3 ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิธีเนรมิตรัตนจงกรมนั่น ท่านจึงกล่าวคาถาเป็นต้น
ว่า
จึงทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพต ในหมื่นโลกธาตุ
เป็นประหนึ่งเสาตั้งเรียงรายกันเป็นรัตนจงกรม ที่จง-
กรมสำเร็จด้วยรัตนะ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ ในหมื่น
จักรวาล. บทว่า สิเนรุปพฺพตุตฺตเม ได้แก่ ทรงทำภูเขาอันประเสริฐสุด
ที่เรียกกันว่ามหาเมรุ. บทว่า ถมฺเภว ความว่า ทรงทำสิเนรุบรรพตใน
หมื่นจักรวาล ให้เป็นประหนึ่งเสาตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบ ทรงทำให้เป็นดัง
เสาทองแล้วทรงเนรมิตที่จงกรมเบื้องบนเสาเหล่านั้นแสดงแล้ว. บทว่า รตนาม-
เย
ก็คือ รตนมเย แปลว่า สำเร็จด้วยรัตนะ.
บทว่า ทสสหสฺสี อติกฺกมฺม ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงเนรมิตรัตนจงกรม ก็ทรงเนรมิต ทำปลายข้างหนึ่งของรัตนจงกรมนั้น
ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกท้ายสุดทั้งหมด ทำปลายอีกข้างหนึ่ง
ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระชินพุทธเจ้า ทรงเนรมิตรัตนจงกรมล้ำหมื่น
โลกธาตุ ตัวจงกรมเป็นรัตนะ พื้นที่สองข้างเป็นทอง
หมด.